welcome to the protfolio of miss ketwarin namwa Thank you for visiting

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

Lesson 7

 
วัน อังคาร ที่ 20 กันยายน 2559 กลุ่ม 102

ห้อง 15-0905 เวลา 13.30-17.30 น.
******************************************** 
Konwledge (ความรู้)
    คัดลายมือ (หัวกลมตัวเหลี่ยม) เพื่อความคล่องแคล่วและเกิดความเคยชินกับการเขียนของตนเอง ครั้งนี้ใช้เวลาในการเขียนน้อยลงกว่าครั้งที่แล้ว ถือว่าสำเร็จไปอีก 1 ผลงาน


  การสร้างมิติจากกระดาษ  เป็นวิธีการที่นำเอาหลักการสะท้อนการมองเห็นทางวิทยาสตร์มาประยุกต์ใช้กับเครื่องมือที่เด็กได้เรียนและลงมือปฏิบัติได้งานจากสิ่งที่ใกล้ตัวและรูปธรรม
อุปกรณ์ : กระดาษ , สีเมจิก
ขั้นตอนการทำ 
          1.วางมือลงและร่างรูปมือของตนเองให้สวยงาม
 2. ใช้สีเมจิกที่1 วาดลงกระดาษในแนวที่เป็นคลื่นทะเลตามลักษณะรูปมือที่ปรากฏบนกระดาษ      
3. ใช้เมจิกที่2 วาดลงกระดาษตามเดิมในลักษณะข้อที่ 2  เมื่อสังเกตจะเห็นได้ว่าลักษณะมือมีความเป็นมิติที่สายตาของคนเรารับรู้เป็นลักษณะที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดรูปแบบที่ต่างไปจากเดิม              

   เรียนเนื้อหาและการรับรู้สิ่งใหม่จากวัสดุสิ่งเดิม อาจารย์อธิบายถึงลักษณะของสื่อที่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นหรือลักษณะรูปแบบที่นำมาประดิษฐ์ ซึ่งทำให้เกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือ การคิดอย่างมีเหตุผล ระบบขั้นตอนที่หลากหลาย เช่นเดี่ยวกัน หากเรานำสื่อที่มีความหลากหลายมาประดิษฐ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่วัสดุที่นำมาใช้มีความแตกต่างและทำให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เกิดความคิดวิเคราะห์ การคิดเปรียบเทียบ การคิดแยกแยะ
 เป็นต้น รูปแบบภาพปิดเปิดที่มีลักษณะเป็นทรงกลม การเกิดจึงมีความเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

รูปแบบภาพปิดเปิดที่มีลักษณะเป็นทรงกลม 
การเกิดจึงมีความเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน


◄ ดอกไม้บาน ►

กดเพื่อรับชมการทดลองดอกไม้เพิ่มเติม

 อุปกรณ์ 1.ภาชนะใส่น้ำ
               2.กระดาษ
               3.กรรไกร
               4.สีตามใจชอบ
 ขั้นตอนการทำ  
 1.ตัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมเท่ากระดาษโน้ต
2.พับกระดาษเป็น 4 ส่วนเท่ากัน โดยพับครั้งที่1พับเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า และครั้งที่2 พับเป็นสีเหลี่ยมจัตุรัส
3.ออกแบบดอกไม้ที่ต้องการ
4.ใช้กรรไกรตัดภาพดอกไม้ที่ร่างไว้
5.พับม้วนเป็นดอกไม้ที่ต้องการและจากนั้นพับกรีบดอกไม้ลงให้เป็นเหมือนกับดอกไม้ที่ตูมอยู่นั้นเอง
 ♦  ทดสอบกระดาษดอกไม้ที่พับขึ้นเมื่ออยู่ที่ผิวน้ำ ผลปรากฏว่าจากที่พับดอกไม้ม้วนลักษณะที่เกิดขึ้นคือ กรีบดอกไม้ค่อยๆขยายออกจนบานออกทั้งดอกซึ่งทำให้ได้ผลทางวิทยาสาสตร์ 
 หลักการทางวิทยาศาสตร์  กระดาษที่ทำด้วยเยื้อไม่มีรูพรุนมาก เมื่อพับกระดาษจะทำให้เกิดรูพรุนบริเวณรอยพับถูกบีบอัดให้เล็กลง พอนำดอกไม้กระดาษไมลอยน้ำ น้ำจะซึ้มเข้าไปในรูพรุนทำให้เกิดแรงพลัก โดยเฉพาะรูพรุนบริเวณรอยพับของกระดาษ ดอกไมจึงบานออกเหมือนกับเซลล์ของสิ่งมี่ชีวิตสามารถคงรูปนั้นได้เพราะมีแรงดันนั้นอยู่
Skill (ทักษะ)
·         การคิดวิเคราะห์
·         ความพึงพอใจในผลงาน จากการฝึกคัดลายมือที่สวยงาม หัวกลมตัวเหลี่ยม
·         ความคิดยืดหยุ่น
·         ความคิดคล่องแคล่ว
 Application (การประยุกต์ใช้) 
 การนำไปประยุกต์ใช้ สามารถนำสื่อที่ประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์นี้ไปทำการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ สามารถอธิบายให้เด็กเข้าใจในเรื่องวิทยาศาสตร์ที่ใกล้ตัว เด็กจะได้รับทั้งความรู้และสนุกสนานไปพร้อมกับการลงมือปฏิบัติ นอกจากนั้นนำไปบรูณาการเข้ากับ 6 กิจกรรมหลักได้ จากมุมเสรี มุมวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถเล่นได้อย่างอิสระ

Technical Education (เทคนิคการสอน)
 - การเรียนเป็นลำดับขั้นตอน
 - มีข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ
 - เน้นความสำคัญของนักศึกษา

Evaluation (การประเมิน)
Self : ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดี มีง่วงบ้างแต่ก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุลวง
Friend :เพื่อนมีความตั้งใจและร่วมกันทำงานอย่างที่ตนเองรับได้ดี

Teacher :อาจารย์ตรงต่อเวลาในการส่งชิ้นงาน รวมทั้งแต่งกายสะอาดเรียบร้อย มีวิดีโอตัวอย่างทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น

                                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น