วัน อังคาร ที่ 23 สิงหาคม 2559กลุ่ม 102
ห้อง 15-0905 เวลา 13.30-17.30 น.
-------------------------------------------------------------------------
Konwledge (ความรู้)
1.รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
3-5 ปี
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาด้านบุคลิกภาพมากที่สุด
ธรรมชาติของเด็กในวัยนี้เป็นช่วงที่อยากรู้อยากเห็น มีความสงสัยในสิ่งต่างๆ
ชอบถามจนกว่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน เด็กวัยนี้เริ่มแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมาให้เห็น
เช่น การเลียนแบบพ่อแม่ ครูและเพื่อนในวัยเดียวกัน
เด็กวัยนี้ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่สามารถเข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น
จะคิดว่าสิ่งที่ตนรับรู้คนอื่นก็รับรู้ด้วย
มักแสดงอารมณ์ออกมาอย่างเปิดเผยและเปลี่ยนแปลงอารมณ์ได้ง่ายๆ
สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ มีความสนใจในระยะสั้นๆ 8-10 นาที และพอใจคนที่ตามใจ
2.ทฤษฏีการเรียนรู้
การทดลองของพาฟลอฟ (สนัขที่กำลังหิว)
วางเงื่อนไข
- ให้ผงเนื้อ
แล้วเคาะกระดิ่ง
+
ขณะกำลังวางเงื่อนไข
-
ให้ผงเนื้อพร้อมกับเคาะกระดิ่ง
+
หลักการวางเงื่อนไข
- เคาะกระดิ่งอย่างเดียว
การทดลองของวัตสัน
อัลเบิร์ตเล่นกับหนูขาว
= ยิ้มแย้มมีความสุข
ตีเหล็กให้เกิดเสียงดังทุกครั้งที่อัลเบิร์ตจะยืนมือจับหนูขาว
= ร้องไห้กลัว
ยื่นหนูขาวอย่างเดียวให้กับอัลเบิร์ต
= ร้องไห้กลัว
การนำความรู้จากทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสิกไปใช้ในการเรียนการสอน
- ครูสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน
- จัดบทเรียนที่น่าสนใจและเกิดความสนุกสนานได้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน
ทฤษฏีความสัมพันธ์ของธอร์นไดค์
การลองผิดลองถูก
การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
การเรียนรู้ของบรูเนอร์
ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายมาจากแง่มุมต่างๆ
ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
หลักการและแนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
กีเซล =
พัฒนาการเป็นไปอย่างแบบแผนและเป็นขั้นตอน
จัดกิจกรรมสร้างสรรค์
ฝึกการใช้มือและประสาทสัมพันธ์มือกับตา
ฟรอยด์ =
ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพเมือเติบใหญ่
จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอนจากง่ายไปยากและเป็นแบบอย่างที่ดี
เพียเจท์ =
เด็กรับรู้จากสิ่งแวดล้อม
จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผลเรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว
ดิวอี้ =
เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม
ครูและเพื่อนๆ
สกิลเนอร์ =
เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
จัดกิจกรรมให้แรงเสริม เช่น
ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
เปสตาลอสซี่ =
เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้ความรัก
เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์
เฟรอเบล =
การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
จัดกิจกรรมใให้เด็กได้เล่นอย่างเสรี
เอลคายน์ =
การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็กโดยไม่รู้ตัว
จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กได้มีโอกาสเล่นและทำกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
การพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
1.การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
2.การเรียนรู้แบบองค์รวมทีครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน
หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ
เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุล
ยึดเด็กเป็นสำคัญและต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
community ชุมชน
Integration ประสานสัมพันธ์
Learning การเรียนรู้
Environment สภาพแวดล้อม
Development พัฒนาการ
Skill (ทักษะ)
·
ผู้ฟังที่ดี
·
การสรุปสาระที่สำคัญ
Application (การประยุกต์ใช้)
การนำไปประยุกต์ใช้
ทำให้เราเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยซึ่งจะต่อยอดในการนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย
นำทฤษฏีการเรียนรู้ไปประกอบใช้ในการเพิ่มองค์ความรู้ให้กับตนเองมากขึ้น
Technical Education (เทคนิคการสอน)
- การเรียนเป็นลำดับขั้นตอน
- มีข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ
- เน้นความสำคัญของนักศึกษา
Evaluation (การประเมิน)
Self : มีความมุ่งมั่น ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนได้ดีและช่วยเหลือเท่าที่ตนทำได้อย่างเต็มที่
Friend :เพื่อนมีความตั้งใจและช่วยเหลือกันระหว่างการทำงาน
Teacher :อาจารย์มีความเข้าใจ
และมีชี้แนะวิธีการที่นักศึกษาไม่เข้าใจสามารถอธิบายเป็นรูปธรรมและเกิดความเข้าใจดีแก่นักศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น