welcome to the protfolio of miss ketwarin namwa Thank you for visiting

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

Lesson 7

 
วัน อังคาร ที่ 20 กันยายน 2559 กลุ่ม 102

ห้อง 15-0905 เวลา 13.30-17.30 น.
******************************************** 
Konwledge (ความรู้)
    คัดลายมือ (หัวกลมตัวเหลี่ยม) เพื่อความคล่องแคล่วและเกิดความเคยชินกับการเขียนของตนเอง ครั้งนี้ใช้เวลาในการเขียนน้อยลงกว่าครั้งที่แล้ว ถือว่าสำเร็จไปอีก 1 ผลงาน


  การสร้างมิติจากกระดาษ  เป็นวิธีการที่นำเอาหลักการสะท้อนการมองเห็นทางวิทยาสตร์มาประยุกต์ใช้กับเครื่องมือที่เด็กได้เรียนและลงมือปฏิบัติได้งานจากสิ่งที่ใกล้ตัวและรูปธรรม
อุปกรณ์ : กระดาษ , สีเมจิก
ขั้นตอนการทำ 
          1.วางมือลงและร่างรูปมือของตนเองให้สวยงาม
 2. ใช้สีเมจิกที่1 วาดลงกระดาษในแนวที่เป็นคลื่นทะเลตามลักษณะรูปมือที่ปรากฏบนกระดาษ      
3. ใช้เมจิกที่2 วาดลงกระดาษตามเดิมในลักษณะข้อที่ 2  เมื่อสังเกตจะเห็นได้ว่าลักษณะมือมีความเป็นมิติที่สายตาของคนเรารับรู้เป็นลักษณะที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดรูปแบบที่ต่างไปจากเดิม              

   เรียนเนื้อหาและการรับรู้สิ่งใหม่จากวัสดุสิ่งเดิม อาจารย์อธิบายถึงลักษณะของสื่อที่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นหรือลักษณะรูปแบบที่นำมาประดิษฐ์ ซึ่งทำให้เกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือ การคิดอย่างมีเหตุผล ระบบขั้นตอนที่หลากหลาย เช่นเดี่ยวกัน หากเรานำสื่อที่มีความหลากหลายมาประดิษฐ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่วัสดุที่นำมาใช้มีความแตกต่างและทำให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เกิดความคิดวิเคราะห์ การคิดเปรียบเทียบ การคิดแยกแยะ
 เป็นต้น รูปแบบภาพปิดเปิดที่มีลักษณะเป็นทรงกลม การเกิดจึงมีความเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

รูปแบบภาพปิดเปิดที่มีลักษณะเป็นทรงกลม 
การเกิดจึงมีความเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน


◄ ดอกไม้บาน ►

กดเพื่อรับชมการทดลองดอกไม้เพิ่มเติม

 อุปกรณ์ 1.ภาชนะใส่น้ำ
               2.กระดาษ
               3.กรรไกร
               4.สีตามใจชอบ
 ขั้นตอนการทำ  
 1.ตัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมเท่ากระดาษโน้ต
2.พับกระดาษเป็น 4 ส่วนเท่ากัน โดยพับครั้งที่1พับเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า และครั้งที่2 พับเป็นสีเหลี่ยมจัตุรัส
3.ออกแบบดอกไม้ที่ต้องการ
4.ใช้กรรไกรตัดภาพดอกไม้ที่ร่างไว้
5.พับม้วนเป็นดอกไม้ที่ต้องการและจากนั้นพับกรีบดอกไม้ลงให้เป็นเหมือนกับดอกไม้ที่ตูมอยู่นั้นเอง
 ♦  ทดสอบกระดาษดอกไม้ที่พับขึ้นเมื่ออยู่ที่ผิวน้ำ ผลปรากฏว่าจากที่พับดอกไม้ม้วนลักษณะที่เกิดขึ้นคือ กรีบดอกไม้ค่อยๆขยายออกจนบานออกทั้งดอกซึ่งทำให้ได้ผลทางวิทยาสาสตร์ 
 หลักการทางวิทยาศาสตร์  กระดาษที่ทำด้วยเยื้อไม่มีรูพรุนมาก เมื่อพับกระดาษจะทำให้เกิดรูพรุนบริเวณรอยพับถูกบีบอัดให้เล็กลง พอนำดอกไม้กระดาษไมลอยน้ำ น้ำจะซึ้มเข้าไปในรูพรุนทำให้เกิดแรงพลัก โดยเฉพาะรูพรุนบริเวณรอยพับของกระดาษ ดอกไมจึงบานออกเหมือนกับเซลล์ของสิ่งมี่ชีวิตสามารถคงรูปนั้นได้เพราะมีแรงดันนั้นอยู่
Skill (ทักษะ)
·         การคิดวิเคราะห์
·         ความพึงพอใจในผลงาน จากการฝึกคัดลายมือที่สวยงาม หัวกลมตัวเหลี่ยม
·         ความคิดยืดหยุ่น
·         ความคิดคล่องแคล่ว
 Application (การประยุกต์ใช้) 
 การนำไปประยุกต์ใช้ สามารถนำสื่อที่ประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์นี้ไปทำการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ สามารถอธิบายให้เด็กเข้าใจในเรื่องวิทยาศาสตร์ที่ใกล้ตัว เด็กจะได้รับทั้งความรู้และสนุกสนานไปพร้อมกับการลงมือปฏิบัติ นอกจากนั้นนำไปบรูณาการเข้ากับ 6 กิจกรรมหลักได้ จากมุมเสรี มุมวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถเล่นได้อย่างอิสระ

Technical Education (เทคนิคการสอน)
 - การเรียนเป็นลำดับขั้นตอน
 - มีข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ
 - เน้นความสำคัญของนักศึกษา

Evaluation (การประเมิน)
Self : ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดี มีง่วงบ้างแต่ก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุลวง
Friend :เพื่อนมีความตั้งใจและร่วมกันทำงานอย่างที่ตนเองรับได้ดี

Teacher :อาจารย์ตรงต่อเวลาในการส่งชิ้นงาน รวมทั้งแต่งกายสะอาดเรียบร้อย มีวิดีโอตัวอย่างทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น

                                  

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

Lesson 6

วัน อังคาร ที่ 14 กันยายน 2559 กลุ่ม 102

ห้อง 15-0905 เวลา 13.30-17.30 น.
-----------------------------------------------------------
Konwledge (ความรู้)
   วิดีโอ เรื่อง : ความลับของแสง 

      ตัวอย่างของเล่นหลักการสะท้อนแสง

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่  1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว  1. 1      เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของ
ระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว  1.2     เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1     เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ   ในระบบนิเวศมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2      เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1     เข้าใจสมบัติของสารความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2      เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   การเกิดสารละลาย   การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1     เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม  
มาตรฐาน ว 4.2      เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1     เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1     เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1     เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2      เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
 สาระสำคัญของเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้ 4 ตัวหลัก ได้แก่
    - สิ่งต่างๆรอบตัว 
    - เรื่องราวเกี่ยวกับตัวฉัน
    - ธรรมชาติรอบตัวฉัน
    - บุคคลและสถานที่ต่างๆ
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
 - วิทยาศาสตร์คือการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้น
 - การปรับตัว
 - ความแตกต่าง
 - พึ่งพาอาศัยกัน 
 - ความสมดุล
กระบวนการทางวิทศาสตร์
 - ตั้งปัญหาสมมุติฐาน
 - รวบรวมข้อมูล
 - สรุปผล 
องค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์
 - คิดริเริ่ม
 - คิดคล่องแคล่ว
 - คิดยืดหยุ่น
 - คิดละเอียดลออ
 - คิดสร้างสรรค์

Skill (ทักษะ)
·         การคิดทบทวน
·         การรับฟังที่ดี
·         การคิดหลากหลาย
·         การทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ

      Application (การประยุกต์ใช้) 
      การนำไปประยุกต์ใช้ สามารถนำไปเพิ่มพูนความรู้ตนเองจากองค์ความรู้ในวันนี้โดยการจัดกิจกรรมประสบการณ์ให้กับเด็กจากการนำหลักมาตรฐานสาระวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เช่น การสร้างสื่อสำหรับเพื่อให้เด็กรู้จักการสะท้อนของแสง และนำความรู้ไปอธิบายเพิ่มเติมเพื่อเกิดความเข้าใจสำหรับเด็ก

Technical Education (เทคนิคการสอน)
 - การเรียนเป็นลำดับขั้นตอน
 - การมีส่วนร่วมของนักศึกษา
 - สร้างองค์ความรู้ใหม่จากการถาม,ตอบ
 - เน้นการปฏิบัติและสามารถนำไปบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ แก่เด็กได้
 - แสดงความคิดเห็นอย่างมีขอบเขต

Evaluation (การประเมิน)
Self : ตั้งใจ อากาศค่อนข้างหนาว บ้างครั้งก็ง่วงนิดหน่อย เข้าใจกับงานที่ได้มอบหมาย
Friend :เพื่อนมีความตั้งใจและร่วมกันทำงานอย่างที่ตนเองรับได้ดี
Teacher :อาจารย์ตรงต่อเวลาในการส่งชิ้นงาน รวมทั้งแต่งกายสะอาดเรียบร้อย มีวิดีโอตัวอย่างทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น


วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

Lesson 5

วัน อังคาร ที่ 6 กันยายน 2559 กลุ่ม 102 
ห้อง 15-0905 เวลา 13.30-17.30 น.
--------------------------------------------------------------------

Konwledge (ความรู้)
   วิดีโอ เรื่อง : อากาศมหัศจรรย์ 


  กิจกรรมของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้
   ชื่อ : หลอดเกิดเสียง
   วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
     - กระดาษเศษที่ไม่ใช้แล้ว
     - กรรไกร
     - เทปใส
     - หลอด
     - สีเมจิกตามใจชอบ

ขั้นตอนการทำ
1.ตัดหลอดที่ป้ายเป็นรูปสามเหลี่ยม  สามารถเลือกโทนเสียงได้จากความสั้น-ยาวของหลอด

2.ตัดกระดาษเป็นแนวยาว แล้วลงสีตามใจชอบ
3.นำกระดาษที่ระบายสีเสร็จไปติดกับหลอด เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
 

วิธีการเล่น : เป่าที่หลอดทำให้เกิดเสียงได้อิสระเท่าที่เด็กต้องการ
หลักการทางวิทยาศาสตร์ : เมื่อเป่าลมเข้าไปในหลอดกระทบกับอากาศที่อยู่ภายในกลับไปกลับมาจึงทำให้เกิดเสียงขึ้น
                 ----------------------------------------------------------------------------------------------------
Skill (ทักษะ)
·         การคิดวิเคราะห์
·         การแยกแยะ
·         ความพึงพอใจในผลงาน
·         ความคิดคล่องแคล่ว
·         การปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม

Application (การประยุกต์ใช้) 
 การนำไปประยุกต์ใช้ สามารถนำสื่อที่ประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์นี้ไปทำการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ สามารถอธิบายให้เด็กเข้าใจในเรื่องวิทยาศาสตร์ที่ใกล้ตัว เด็กจะได้รับทั้งความรู้และสนุกสนานไปพร้อมกับการลงมือปฏิบัติ นอกจากนั้นนำไปบรูณาการเข้ากับ 6 กิจกรรมหลักได้ จากมุมเสรี มุมวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถเล่นได้อย่างอิสระ

Technical Education (เทคนิคการสอน)
 - มีข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ
 - เน้นความสำคัญของนักศึกษา
- เน้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

Evaluation (การประเมิน)
Self : ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดี มีง่วงบ้างแต่ก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุลวง
Friend :เพื่อนสนุกและร่วมทำกิจกรรมที่เกิดได้ดีรวมมถึงเต็มที่ต่องานที่ได้รับมอบหมาย
Teacher :อาจารย์ตรงต่อเวลาในการส่งชิ้นงาน รวมทั้งแต่งกายสะอาดเรียบร้อย มีวิดีโอตัวอย่างทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น





Lesson 4

วัน อังคาร ที่ 30 สิงหาคม 2559 กลุ่ม 102 
ห้อง 15-0905 เวลา 13.30-17.30 น.
********************************** 
Konwledge (ความรู้)

   กิจกรรมคัดลายมือหัวกลมตัวเหลี่ยม ลายมือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้และเข้าใจในลักษณะพยัญชนะได้ง่ายและเห็นชัดรวมถึงเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กปฐมวัย 



  กิจกรรมสื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ โดยอาจารย์มีอุปกรณ์ให้ 2 อย่าง คือ 1.กระดาษ 2.คลิปติดกระดาษ แบ่งกลุ่มละ 5 คน ซึ่งเป็นจำนวนทั้งหมด 5 กลุ่มดังนี้



1.การเกิดฝน
กระบวนการคิดและดำเนินงาน


2.ลมบกลมทะเล
3.วงจรฤดูกาล
4.แรงต้านอากาศ
5.พลังงานลม
                        ------------------------------------------------------------------------------------
Skill (ทักษะ)
·         การคิดวิเคราะห์
·         ความพึงพอใจในผลงาน จากการฝึกคัดลายมือที่สวยงาม หัวกลมตัวเหลี่ยม
·         ความคิดยืดหยุ่น
·         ความคิดคล่องแคล่ว
Application (การประยุกต์ใช้) 
          การนำไปประยุกต์ใช้ การทำสื่อที่เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นได้จริง การที่นำสิ่งที่คิดออกแบบมาใช้เป็นสื่อทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายจากกลุ่มที่นำเสนอรวมถึงทักษะการทำสื่อวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปประดิษฐ์ได้ง่ายเหมาะกับการนำไปสอนในอนาคต

Technical Education (เทคนิคการสอน)
 - การเรียนเป็นลำดับขั้นตอน
 - มีข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ
 - เน้นความสำคัญของนักศึกษา
- เน้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น

Evaluation (การประเมิน)
Self : ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดี เข้าใจถึงเนื้อหาสาระที่อาจารย์สอน 80 %
Friend :เพื่อนตั้งใจฟังและปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้ดี ร่วมมือร่วมใจทำงานที่ได้รับอย่างเต็มที่
Teacher :อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย บุคลิกภาพที่ดีในการวางตัวและตรงต่อเวลาเสมอ