welcome to the protfolio of miss ketwarin namwa Thank you for visiting

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุป บทความเด็กอนุบาลเรียนวิทย์ผ่าน "ดินมหัศจรรย์"

   


สรุป
การบูราณการเรียนรู้โดยนำหลักวิทยาศาสตร์เข้ามาในการเรียนการสอนโดยทางสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริมให้ชั้นเรียนบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา” (STEM Education : Science Technology Engineering and Mathematics Education) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ
 ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
ระยะที่ 3 สรุปโครงการ

ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการโดยมีความคิดเห็นร่วมเกี่ยวกับหัวข้อที่เด็กสนใจ คือ เครื่องปั่นดินเผา ซึ่งเด็กเกิดความอยากรู้ในสิ่งนี้จึงศึกษาหาข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการสอน โดยครูตั้งคำถามไปกับเด็ก เช่น เด็กรู้ไหมว่าเครื่องปั้นดินเผาเกิดมาจากสิ่งใดที่สำคัญ? เครื่องปั้นดินทำมาจากอะไร?
ระยะที่ ครูเปิดวิดีโอเพลงของขวัญจากก้อนดินครูนำดินใส่โหลสีใสมาให้เด็ก ๆ ได้ดูอย่างใกล้ชิดพร้อมร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับดิน และเด็กๆ หาความรู้เพิ่มเติมหลากหลายวิธี ได้แก่  
·       สืบค้นด้วยตนเองโดยใช้แว่นขยายส่องโหลสีใสที่ใส่ดินไว้ข้างใน กิจกรรมกลุ่มให้เด็กวาดรูปสิ่งต่างๆ ที่พบเจอในโหลสีใสให้ชัดเจน
·       ร่วมแบ่งปันภาพวาดนั้นให้กับเพื่อนได้พร้อมนำเสนอในห้องทีละกลุ่ม
·       สอบถามผู้รู้ คือ คุณครูในห้องเรียนถึงสิ่งต่างๆ ที่พบเจอในโหลสีใส โดยการตั้งคำถาม
·       เด็กและครูทบทวนความหมายของดินและการเกิดดินที่ได้เรียนไปเมื่อวานผ่านชาร์ตการเกิดดินร่วมกัน
       ครูเปิดคลิปวิดีโอ เรื่องชนิดและสมบัติของดินจากอินเทอร์เน็ต นำดิน 3 ประเภท (ดินทราย ดินร่วน ดินเหนียว) ใส่กระบะทั้ง 3 กระบะมาให้นักเรียนได้สังเกต สัมผัส ร่วมกันสำรวจและแสดงความคิดเห็น สังเกต เปรียบเทียบความแตกต่างของดินแต่ละกระบะ ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับดิน
ระยะที่ 3 สรุปโครงการวันศุกร์ ครูทบทวนความรู้ของนักเรียนจากที่เคยได้ร่วมกันสำรวจ สืบค้นและเสาะหามาด้วยวิธีการต่างๆ นำชาร์ตคำถามที่นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามในตอนแรก จากนั้นนักเรียนและครูตกลงร่วมกันที่จะจัดนิทรรศการดินมหัศจรรย์ขึ้น ภายในห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/6 โดยแบ่งเป็นมุมการเรียนรู้ต่างๆ



บทความประชาสัมพันธ์โดย สสวท.


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น