วัน อังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน 2559 กลุ่ม 102
ห้อง 15-0905 เวลา 13.30-17.30 น.
------------------------------------------------------------------------------------
Konwledge (ความรู้)
♦ กิจกรรมเสริมประสบการณ์บูรณาการผ่านวิทยาศาสตร์
อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนการเรียนการสอน โดยได้จัดตามกลุ่มเดิม
คือ หน่วยกล้วย จากนั้นแบ่งให้สมาชิกแต่ละกลุ่มเขียนแผนในแต่ละวันที่ตนเอง
รับผิดชอบ ดังนี้
วันจันทร์ดำเนินสอน กล้วยมีกี่ชนิด
วันอังคารดำเนินสอน ลักษณะของกล้วย
วันพุธดำเนินสอน การถนอมอาหาร
วันพฤหัสบดีดำเนินสอน นิทานเรื่อง กล้วยกล้วยของหนูนิด
วันศุกร์ดำเนินสอน Cooking โรลกล้วย
ต่อมาสร้างข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการจัดการสอนของกลุ่มโดย
ส่งตัวแทนออกไปจับสลากเพื่อเลือกว่าในแต่ละกลุ่มจะได้ทำการสอนวันใด
ข้อสรุปของกลุ่มข้าพเจ้าคือ ดำเนินการกิจกรรมเสริมประสบการณ์บูรณาการผ่านวิทยาศาสตร์
คือ วันพฤหัสบดี เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่เป็นนิทานเกี่ยวกับโทษและประโยชน์ของกล้วยเพื่อให้สามารถเข้าใจอย่างถูกวิธีโดยง่าย
ในสัปดาห์หน้าให้แต่ละกลุ่มดำเนินขั้นตอนและวิธีการสอนอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงร่วมกันรับผิดชอบกิจกรรมที่แต่ละหน่วยได้รับอย่างเรียบร้อย
กลุ่มของข้าพเจ้า วันพฤหัสบดี สอนเรื่อง ประโยชน์และข้อควรระวัง
นิทาน เรื่องกล้วยกล้วยของหนูนิด (หน่วยกล้วย)
นิทาน เรื่องกล้วยกล้วยของหนูนิด (หน่วยกล้วย)
แผนการจัดประสบการณ์ หน่วยกล้วย กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องกล้วยกล้วยของหนูนิด
วัตถุประสงค์
1. เด็กแสดงออกถึงความสนุกสนานจากการฟังนิทาน
2. เด็กสามารถบอกประโยชน์ของกล้วยได้
3. เด็กสามารถบอกข้อควรระวังของกล้วยได้
สาระที่ควรเรียนรู้
· ธรรมชาติรอบตัว
· สิ่งต่างๆ รอบตัว
ประสบการณ์สำคัญ
· ด้านอารมณ์จิตใจ
· ด้านสติปัญญา
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.เข้าสู้กิจกรรมโยการเล่านิทาน เรื่องกล้วยกล้วยของหนูนิด
ขั้นสอน
1.ครูให้เด็กร่วมตอบคำถามจากนิทานว่าเด็กรู้จักประโยชน์ของกล้วยหรือไม่ มีอะไรบ้าง ข้อควรระวังของกล้วยมีอะไรบ้าง
2. เมื่อเด็กตอบ ครูจะเป็นผู้บันทึกข้อมูลลงในแผ่นชาร์ตที่แยกระหว่างประโยชน์และข้อควรระวัง
3.จากนั้น ถามสิ่งที่เด็ก ๆ รู้แต่นอกเหนือจากนิทานถ้าเด็กสามารถรู้และตอบได้จดบันทึกลงแผ่นชาร์ต และแยกสีเพื่อให้เป็นหมวดที่เป็นความรู้เพิ่มเติมของเด็ก
ขั้นสรุป
1.เด็กและครูร่วมกันสรุปทบทวนความรู้ว่ากล้วยมีประโยชน์และข้อควรระวังอย่างไร
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. กระดาษชาร์ต
2. ปากกาเมจิ สีต่าง ๆ
3. นิทาน
4. ที่ว่างสำหรับการเล่านิทาน
การวัดและประเมินผล
สังเกตจาก
1. เด็กแสดงออกอย่างสนุกสนานจากการฟังนิทาน
2. เด็กบอกประโยชน์ของกล้วยได้อย่างถูกต้อง
3. เด็กบอกข้อระวังของกล้วยได้อย่างถูกต้อง
การบูรณาการ
· ภาษา
Nature ลักษณะ
food preservation การถนอมอาหาร
Teaching methods วิธีการสอน
Conclusion ข้อสรุป
Blame โทษ
Skill (ทักษะ)
- การคิดวิเคราะห์
- การแสดงความคิดเห็น
- การสังเกต
- การแยกแยะ
- การคิดที่หลากหลาย
- การสร้างองค์ความรู้จากตนเอง
- การร่วมมือร่วมใจ
Application (การประยุกต์ใช้)
การนำไปประยุกต์ใช้การสร้างแผนประสบการณ์ เพื่อนำไปใช้ให้สอดคล้องกับความต้องการและเกิดผลกับผู้เรียนมากที่สุด โดยนำหลักการเขียนในแต่ละวันไปบูรณาการที่เหมาะสมและตรงต่อการจัดกิจกรรมเพื่อให้การสอนเป็นไปอย่างสมบูรณ์และผู้เรียนสนุกสนานจากกิจกรรมที่หลากหลายและได้ลงมือปฏิบัติจริง
Technical Education (เทคนิคการสอน)
- การเรียนเป็นลำดับขั้นตอน
- การมีส่วนร่วมในทั้งอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียน
- การมีส่วนร่วมในทั้งอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียน
- มีข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ
- สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม
- สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม
- เน้นความสำคัญของนักศึกษา
Evaluation (การประเมิน)
Self : ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดี
ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนได้ดีและช่วยเหลือที่ตนเองพอจะทำได้อย่างเต็มที่
Friend :เพื่อนมีความตั้งใจและช่วยเหลือกันระหว่างการทำงาน
Teacher :อาจารย์มีความเข้าใจ
และมีชี้แนะวิธีการที่นักศึกษาไม่เข้าใจสามารถอธิบายเป็นรูปธรรมและเกิดความเข้าใจดีแก่นักศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น