welcome to the protfolio of miss ketwarin namwa Thank you for visiting

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Lesson 12

 วัน อังคาร ที่ 2ตุลาคม 2559 กลุ่ม 102 
ห้อง 15-0905 เวลา 13.30-17.30 น.
 ---------------------------------------------------------------------------
       
      Konwledge (ความรู้)
             องค์ประกอบการสร้างมายแม็ปโดยอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอหน่วยที่แต่ละกลุ่มและได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิทยาศาสตร์ ซึ่งให้ความสำคัญและกล่าวถึงแต่ละหน่วยที่สามารถเชื่อมสัมพันธ์เนื้อหาที่ควรจะเป็น อีกทั้งมอบหมายงานโดยให้ส่งสัปดาห์หน้า 2 ชิ้นงานดังนี้
1.ออกแบบเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิทยาศาสตร์ เช่น กลุ่มกล้วย มี 6 หัวข้อ แบ่งที่สมาชิกในกลุ่มรับผิดชอบ แบ่งย่อยในแต่ละวันจันทร์-ศุกร์ แล้วบอกว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับมาตรฐานวิทยาศาสตร์ในข้อที่เท่าไร
2. แผ่นชาร์ตเกี่ยวกับมาตรฐานวิทยาศาสตร์
                                            การจัดทำแผนจัดประสบการณ์ หน่วย กล้วย




Mind Mapping หน่วย ส้ม

Mind Mapping หน่วย น้ำ

Mind Mapping หน่วย ไก่

             -------------------------------------------------------------------------------------------------------

vocabulary กลุ่มคำศัพท์
Nature                        ลักษณะ
food preservation       การถนอมอาหาร
Teaching methods      วิธีการสอน
Conclusion                 ข้อสรุป
Tale                          นิทาน


Skill (ทักษะ)
  • การคิดวิเคราะห์
  • การแสดงความคิดเห็น
  • การสังเกต
  • การทำงานเป็นทีม
  • การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • ภาวะผู้นำในแต่ละคน
Application (การประยุกต์ใช้) 
     การนำไปประยุกต์ใช้การจัดแผนประสบการณ์ คือเพื่อความสะดวกและความเข้าใจแก่ตนเองคือ การสร้างแผนผังออกมาเพื่อเป้นการจัดลำดับความคิดของหัวข้อนั้น ๆ เช่น หน่วยกล้วย ลำดับความรู้จากสิ่งหนึ่งไปสิ่งหนึ่ง สามารถบูรณาการได้วิชา กิจกรรมที่สามารถจัดสอดคล้องกับหน่วยที่เรียนได้ มีอะไรบ้าง เพื่อนำมาใส่ในแผนจัดประสบการณ์ 
 Technical Education (เทคนิคการสอน)
 - เน้นความสำคัญของนักศึกษา
 - การเรียนเป็นลำดับขั้นตอน
 - มีข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ
 - เน้นการมีส่วนร่วมในการทำงาน
 - ตรงต่อเวลาและชัดเจนในการส่งการบ้าน

Evaluation (การประเมิน)
Self : เป็นผู้ฟังที่ดี ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนได้ดีและช่วยเหลือที่ตนเองพอจะทำได้อย่างเต็มที่
Friend :เพื่อนมีความตั้งใจและช่วยเหลือกันระหว่างการทำงาน
Teacher :อาจารย์มีความเข้าใจศึกษา และมีชี้แนะวิธีการที่นักศึกษาไม่เข้าใจสามารถอธิบายเป็นรูปธรรมและเกิดความเข้าใจดีแก่นักศึกษา


 

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Lesson 11

 วัน อังคาร ที่ 8 พฤศจิกายน 2559 กลุ่ม 102
 ห้อง 15-0905 เวลา 13.30-17.30 น.
-----------------------------------------------------------------
Konwledge (ความรู้)
 เข้าร่วมกิจกรรมสาธิตการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้เสียงเปียโน 
คณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยPädagogische Hochschule Tirol 
(โรงเรียนฝึกหัดครู Tyrol) ประเทศอออสเตรีย 


 ร่วมแสดงบทบาทสมมติ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วยผีเสื้อ









             ----------------------------------------------------------------------------------




วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Lesson 10

        
วัน อังคาร ที่ 11 ตุลาคม 2559 กลุ่ม 102 
ห้อง 15-0905 เวลา 13.30-17.30 น.

Konwledge (ความรู้)

                      ---------------------------------------------------------------------------------
♦ กิจกรรมผังกราฟิก  อาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาแบบ 1 ต่อ 1
วิธีการเขียนผังกราฟิก เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมครูผู้สอนเข้าใจ สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ง่าย ซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นขั้นตอนเด็กเข้าใจ เรียนรู้โดยง่าย

พิ่ติ การเขียนผังกราฟิกในเด็ก เนื้อหาที่ใช้ในขั้นตอนการจัดทำ/ขั้นตอนดำเนินกิจกรรม จะต้องมีเนื้อหาที่ไม่ยาวมากจนเกินไป ข้อความที่ปรากฏจะเน้นสั้น กระชับ ใจความสำคัญ เพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยง่ายในเด็กปฐมวัย ภาษาควรเป็นภาษธรรมชาติเด็กได้เห็นภาพสามารถเชื่อมโยงกับลักษณะตัวอักษรทำให้เกิดการเรียนรู้และจดจำได้ดี

                               --------------------------------------------------------------------------------


                             --------------------------------------------------------------------------------
♦ กิจกรรม ขั้นตอนการทำของเล่นวิทยาศาสตร์  ( วิดีโอ YouTbue )
แบ่งสมาชิกในกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน เพื่อประชุมและลงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการจัดทำวิดีโอ โดยทางกลุ่มของดิฉัน ตัดสินใจเลือก "ขวดเกิดลม" จากนั้นแบ่งหน้าที่ตามความเหมาะสมของแต่ละคนเพื่อดำเนินงานที่วางแผนไว้



ความรู้เพิ่มเติม
------------------------------------------------------------------------------------

การหักเหของแสง หมายถึง การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง เมื่อแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางชนิดหนึ่งไปยังอีกตัวกลางชนิดหนึ่งที่มีความ หนาแน่นแตกต่างกัน สาเหตุที่ทำให้แสงหักเหเนื่องจากอัตราเร็วของแสงในตัวกลางทั้งสองไม่เท่ากัน การหักเหของแสงเกิดขึ้นตรงผิวรอยต่อของตัวกลาง ลักษณะการหักเหของแสง เมื่อแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยเข้าสู่ตัวกลางที่มีความ หนาแน่นมากกว่า แสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ ในทางตรงกันข้ามถ้าแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากเข้าสู่ตัว กลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ
กำหนดให้

หมายเหตุ เมื่อแสงขาวผ่านปริซึม พบว่าแสงที่หักเหออกมาจากปริซึมจะไม่เป็นแสงขาว แต่จะแยกออกเป็นสีต่างๆ กัน และแสงแต่ละสีที่หักเหออกมาจะทำมุมหักเหต่างๆกัน การที่แสงแยกออกในลักษณะนี้เรียกว่า "การกระจายแสง" แถบสีที่เกิดจากการกระจายแสงของดวงอาทิตย์เรียกว่า "สเปกตรัมของแสงขาว" เมื่อแถบสเปกตรัมนี้ผ่านปริซึมอีกอันที่วางกลับหัวกับปริซึมอันแรก แสงสีต่างๆ ที่กระจายออกมาจากปริซึมอันแรกจะรวมกันเป็นสีขาวเหมือนเดิม
ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายของแสงที่มักเห็นกันบ่อยๆ คือ รุ้ง ซึ่ง เกิดจากแสงขาวจากดวงอาทิตย์ส่องผ่านละอองน้ำหรือหยดน้ำซึ่งมีมากก่อนหรือ หลังฝนตก โดยหยดน้ำทำให้แสงเกิดการกระจายและสะท้อนกลับหมด ทำให้ได้แถบสีหรือสเปกตรัมของแสงขาว รุ้งอาจเกิดขึ้นได้ในบริเวณอื่นที่มีละอองน้ำ เช่น น้ำพุ น้ำตก เป็นต้น





vocabulary กลุ่มคำศัพท์
Refraction               การหักเหของแสง
natural language     ภาษาธรรมชาติ
Direction               ทิศทาง
Spray                  ละอองน้ำ

vacuum               สุญญากาศ
Refraction   การหักเหของแสง natural language  ภาษาธรรมชาติ

Skill (ทักษะ)
  • การคิดวิเคราะห์
  • การแสดงความคิดเห็น
  • การสังเกต
  • การทำงานร่วมกัน
  • การจริยธรรมคุณธรรมแก่ เพื่อนร่วมงานและอาจารย์ผู้สอน
Application (การประยุกต์ใช้) 
     การนำไปประยุกต์ใช้ การจัดทำกิจกรรมหรือแผนประสบการณ์ที่ดี โดยเกิดจากการสรร้างและทำความเข้าใจต่อตนเองและผู้เรียนเพื่อนำไปประกอบการสอน เช่น การทำแผนกราฟิกเพื่อแยกย่อยหัวข้อจากง่ายไปยาก เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เมื่อนำไปใช้สอนจริงผู้สอนไม่เกิดความสับสนและสามารถจัดการสอนที่เป็นระบบได้ดี

 Technical Education (เทคนิคการสอน)
- การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
- การแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ข้อสรุปภายในชั้นเรียน
 - การเรียนเป็นลำดับขั้นตอน
 - มีข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ
 - เน้นความสำคัญของนักศึกษา

Evaluation (การประเมิน)
Self :  ร่วมแสดงความคิดและยอมรับถึงความแตกต่างทางความคิดของเพื่อน เมื่อมีเหตุผลที่ดี
Friend :เพื่อนมีความตั้งใจและช่วยเหลือกันระหว่างการทำงาน
Teacher :อาจารย์มีความเข้าใจตัวนักศึกษา และมีชี้แนะวิธีการด้วยผลที่ชัดเจนทางการศึกษา มีหลักการการให้ความรู้ที่หลากหลายจากการยกตัวอย่าง
 


วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Lesson 9


วัน อังคาร ที่ 4 ตุลาคม 2559 กลุ่ม 102 
ห้อง 15-0905 เวลา 13.30-17.30 น.


Konwledge (ความรู้)
 กิจกรรม ทาโกะยากิไข่ข้าว โดยพี่ปี5
จัดเด็กออกเป็น 4 ฐาน ดังนี้
1.       วาดรูปวัตถุดิบ
2.       เตรียมอุปกรณ์และหั่นวัตถุดิบ
3.       ผสมวัตถุดิบและปรุงรส
4.       ทำทาโกะยากิไข่ข้าว
การดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
        -ร้องเพลงเกี่ยวกับอาหาร โดยใช้เพลง อาหารดีนั้นมีประโยชน์
     ขั้นตอนการสอนร้องเพลง
         -คุณครูร้องเพลงให้เด็กฟังก่อน 1 รอบ
         - รอบนี้ให้เด็กร้องตามคุณครูนะคะ
         -  ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงพร้อมๆ กัน
พอร้องเพลงเสร็จถามคำถามกับเด็ก เช่น  เด็กๆ คิดว่าในเนื้อเพลงมีอาหารอะไรบ้างที่มีประโยชน์

เด็กๆรู้จักอาหารอื่นๆอะไรบ้างที่มีประโยชน์
                                                                         เพลงที่ใช้สำหรับสงบเด็ก 

 เพลงที่ใช้สำหรับกิจกรรม ทาโกะยากิไข่ข้าว


ขั้นสอน
     -ใช้คำถามให้เด็กได้คิด เฃ่น เด็กๆ คิดว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรค่ะ ?
     -แนะนำอุปกรณ์ให้เด็กดู หรือถามตอบกัน
     -สาธิตการทำให้เด็กดู 1 รอบ โดยขออาสาเด็กมาช่วยหั่นหรือหยิบอุปกรณ์ได้ ในขณะนั้นระหว่างที่ส่วนผสมนับด้วยว่าใส่กี่ช้อน แล้วทั้งเน้นย้ำส่วนที่เป็นชื่อเรียกของอุปกรณืให้ชัดเจนและถูกต้อง
ขั้นสรุป   ทบทวนความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอน ตั้งแต่เพลง อุปกรณ์และวัตถุดิบ เช่น
          วันนี้เด็กๆ ได้ทำอาหารอะไรเอ่ย
          อุปกรณ์ชนิดนี้มีชื่อเรียกว่าอะไรนะลูก คุณครูจำไม่ได้แล้ว ไหนเด็กๆลองตอบคุณครูสิ ว่ามันคืออะไร


ฐานที่ 1 วาดรูปวัตถุดิบ


ฐานที่ 2 เตรียมอุปกรณ์และหั่นวัตถุดิบ


โดยหมุนเวียนกัน หั่นวัตถุดิบอย่างละ 2 ชิ้น ตามที่สมาชิกในกลุ่มต้องการ

                                                           ฐานที่ 3 ผสมวัตถุดิบและปรุงรส

วัตถุดิบที่ได้ นำมาผสมกับไข่ไก่ที่ตีเตรียมไว้แล้ว ตามความต้องการ



ส่วนผสมของวัตถุดิบที่ได้ของกลุ่มเรา   ^^

   ฐานที่ 4 ทำทาโกะยากิไข่ข้าว






------------------------------------------------------------------------------
vocabulary กลุ่มคำศัพท์
Takoyaki   たこ焼き  ทาโกะยากิ
raw material                  วัตถุดิบ
seasoning                       ปรุงรส
snuff                             รสชาติ
benefit                            ประโยชน์

Skill (ทักษะ)
·         การคิดวิเคราะห์
·         การแสดงความคิดเห็น
·         การสังเกต
·         การทดลอง
Application (การประยุกต์ใช้) 
     การนำไปประยุกต์ใช้ บูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งคณิตศาสตร์ที่นั้นจากการนับจำนวน การตวง การคาดคะเนของอาหาร วิทยาศาสตร์เด็กจะได้จากการสังเกต เปรียบเทียบลักษณะและรูปทรงของทาโกะยากิ
Technical Education (เทคนิคการสอน)
 - มีข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ
 - อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมได้ดี
 - เน้นการมีส่ววนร่วมของผู้เรียน
 - มีทั้งทฤษฎีการปฏิบัติที่เหมาะสมควบคู่กัน

Evaluation (การประเมิน)
Self : ตั้งใจ และตื่นเต้นสำหรับการทำทาโกยากิ พอทำเสร็จชิมรสชาติอาหารเกินความคาดหมาย
Friend :เพื่อนมีความตั้งใจและร่วมกันทำงานอย่างที่ตนเองรับได้ดี พร้อมกับสนุกสนานกับการทำทาโกยากิ
Teacher :อาจารย์ตรงต่อเวลาในการส่งชิ้นงาน รวมทั้งแต่งกายสะอาดเรียบร้อย 


วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Lesson 8

วัน อังคาร ที่ 28 กันยายน 2559 กลุ่ม 102 ห้อง 15-0905 เวลา 13.30-17.30 น.
**********************************
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก "สอบกลางภาค"