welcome to the protfolio of miss ketwarin namwa Thank you for visiting

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปวิจัย

การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและจิตวิทยาศาสตร์ของเด็ก
ปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ  ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน
บัณฑิตวิทยาลัย หมาวิทยาลัยศิลปากร

  ปีการศึกษา 2556
   ผู้วิจัยนางสาวกนกวรรณ  พิทยะภัทร์
>>>>>>><<<<<<<<

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.       เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยอนุบาลชั้นปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E
2.       เพื่อนศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2หลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E

สมมติฐานของการวิจัย
          1. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ 5E สูงกว่าเกณฑ์เมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 หรือไม่
          2. เด็กปฐมวัยมีจิตวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E อยู่ในระดับดี

ขอบเขตการวิจัย
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย  – หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายลาดใหญ่ จํานวน 10 โรงเรียน สํานักงานเขตพื่นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม จํานวน 200 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
เด็กปฐมวัยชาย  – หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายลาดใหญ่สามัคคี ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Ramdom Sampling) โดยวิธีการจับสลากห้องเรียนได้ห้องอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 23 คน

ตัวแปรที่ศึกษา
          ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E
          ตัวแปรตาม ได้แก่
·       ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
·       จิตวิทยาศาสตร์ 3 ด้าน ดังนี้
-          ความสนใจใฝ่รู้
-          ความรับผิดชอบ
-          ความซื่อสัตย์

ขอบเขตเนื้อหา
          หัวข้อเรื่องที่นาสร้างแผนการจัดประสบการณ์สาระที่ควรเรียนรู้ด้านเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ได้แก่ หน่วยการจัดประสบการณ์ความรู้ ชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 8 หน่วย คือ
หน่วย ดอกไม้ในอุทยานรัชกาลที่ 2 หน่วยแม่น้ำ แม่กลอง หน่วยนาเกลือ  หน่วยปลาทูแม่กลอง หน่วยป่าชายเลน หน่วยมะพร้าว และหน่วยน้ำตาลมะพร้าว

ระยะเวลาในการดำเนินการ
          การวิจัยครั้งนี้ใช้เวลาในการดำเนินการจัดประสบการณ์ 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 45 นาที ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน – 28 ธันวาคม 2556

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่
 4.1 แผนการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ในการนี้ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 และแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มากําหนดเป็นหน่วยการจัดประสบการณ์โดยใช้แหล่งท่องเที่ยวและของดีประจําจังหวัดสมุทรสงครามกำหนดเป็นเนื้อหาสาระการเรียนรู้ของหน่วยการจัดประสบการณ์ จำนวน 8 หน่วย คือ 1) หน่วยดอนหอยหลอด 2) หน่วยดอกไม้ในอุทยานรัชกาลที่ 2 3) หน่วยแม่น้ำแม่กลอง 4) หน่วยนาเกลือ 5) หน่วยปลาทูแม่กลอง 6) หน่วยป่าชายเลน 7) หน่วยมะพร้าว และ 8) หน่วยน้ำตาลมะพร้าว จัดกิจกรรมในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์
4.2 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยทดสอบ
การคิดแก้ปัญหาของตนเองที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น จำนวน 4 สถานการณ์ คือ(1) ถ้าหนูรับประทานปลาทูแล้วก้างติดคอ หนูจะทำอย่างไร (2) ถ้าหนูไปปลูกป่าชายเลนแล้วโดนโคลนดูดขา หนูจะทำอย่างไร (3) ถ้าหนูอยากใช้แว่นขยาย แต่เพื่อนกำลังใช้อยู่ หนูจะทำอย่างไร (4) ในขณะที่หนูยืนเข้าแถว หนูรู้สึกปวดปัสสาวะ หนุจะทำอย่างไร
          ปัญหาของผู้อื่น คือ การกระทำของผู้อื่นแต่มีผลกระทบกับตนเอง ได้แก่ (1) ถ้าหนูเห็นเพื่อนไม่กล้าเดินเข้าไปในนาเกลือ หนูทำอย่างไร (2) ถ้าหนูพบกระเป๋าสตางค์ของคนอื่นหล่นที่พื้น หนูจะทำอย่างไร (3) ถ้ามีนักท่อเที่ยวมาถามทางไปสุข หนูจะทำอย่างไร (4) ถ้าเพื่อนทำรองเท้านักเรียนหาย หนูจะทำอย่างไร
4.3 แบบสังเกตพฤติกรรมตามคุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์ ในการนี้ผู้วิจัยได้กำหนดพฤติกรรมตามคุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์ที่ต้องการในการประเมินเด็กทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
          4.3.1 ความสนใจใฝ่ รู้ หมายถึง พฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่มีความพยายามสืบเสาะหาความรู้ใหม่ ๆ มีการสังเกต มีความสนใจในการสำรวจและแสวงหาข้อมูลในสิ่งที่สนใจโดยการใช้ประสารทสัมผัสและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งมีพฤติกรรมดังนี้ มีความกระตือรือร้นต่อกิจกรรมและเรืองราวต่าง ๆ
ชอบทดลองค้นคว้า ชอบสนทนา ซักถาม ฟัง อ่าน เพื่อให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
           4.3.2 ความรับผิดชอบ หมายถึง พฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่สามารถทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้สําเร็จด้วยความเพียรพยายามของตนเองโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และยอมรับการกระทำของตนเองที่เกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะพฤติกรรมดังนี้ ทํางานที่ได้รับมอบหมายให้สมบูรณ์ตามกำหนดและตรงต่อเวลา  ดําเนินการแก้ปัญหาจนกว่าจะได้คําตอบ
          4.3.3 ความซื่อสัตย์ หมายถึง พฤติกรรมของเด็กปฐมวัยที่แสดงข้อมูลด้วยความถูกต้องบันทึกข้อมูลตามความเป็นจริง เห็นคุณค่าของการนําเสนอข้อมูลตามความเป็นจริง นําเสนอข้อมูลที่เป็นจริงของตนเองแม้เป็นผลที่แตกต่างจากคนอื่นก็ตาม ซึ่งมีลักษณะพฤติกรรมดังนี้  บันทึกผลหรือข้อมูลตามความเป็นจริง

สรุปผลการวิจัย
1.ความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 พบว่าสูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ โดยมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของผู้อื่นสูงกว่าปัญหาของตนเองที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น

          2.จิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ได้แก่ ด้านความสนใจใฝ่รู้ ด้านความรับผิดชอบและด้านความชื่อสัตย์ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความซื่อสัตย์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านความรับผิดชอบและด้านความสนใจใฝ่รู้ ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้

End


วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปวิดีโอ SCIENCE LAB TAPE7 ตอน ไข่ไก่เด้งดึ๋ง


กิจกรรมไข่ไก่เด้งดิ๋ง
อุปกรณ์
     1.       ไข่ไก่
     2.       น้ำส้มสายชู
 ประเด็นปัญหา
 เมื่อใส่ไข่ลงไปในน้ำส้มสายชู และทิ้งไว้ 48 ชั่วโมงหรือ 2 วัน ขนาดของไข่จะ  เป็นอย่างไร ?
 ขั้นการทดลอง
 นำไข่ไก่ใส่โหล 2 โหล จากนั้นนำน้ำส้มสายชูเท่ลงไปทั้ง 2 โหล โดยให้  น้ำส้มสายชูท่วมไข่ไก่ และแยกโหล
·        โหลที่ 1 ใส่ไข่ไก่และน้ำส้มสายชูจนท่วมไข่ไก่
·        โหลที่ 2 ใส่ไข่ไก่และน้ำส้มสายชูจนท่วมไข่ไก่จากนั้นเทสีผสมอาหารลงไป
 ผลการทดลอง
·        เมื่อไข่ไก่แช่จนครบ 48 ชั่วโมง นั้นไข่ไก่โหลที่ 1 มีขนาดใหญ่ขึ้นและเด้งดิ๋ง
·        ไข่ไก่โหลที่ 2 เมื่อเจาะด้วยเข้มมีน้ำไหลออกจากไข่
  สรุปผลการทดลอง ความเป็นกรดของน้ำส้มสายชู และเปลือกไข่ที่ประกอบ  ด้วยแคลเซียมเมื่อทำปฏิกิริยากันจะทำให้เกิดฟองอากาศ ส่วนฟองอากาศคือ  ก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซค์ เมื่อก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซค์ไปจับตัวรอบ ๆ    เปลือกไข่ก็จะถูกกัดกรอนและเนื่องจากน้ำส้มสายชูเป็นของเหลวสามารถซึม  เปลือกไข่เข้าไปยังไข่ขาวจึงทำปฏิกิริยากับโปรตีน หรือที่เรียกว่า อัลบูมินใน  ไข่ขาว นั้นก็คือการเข้าไปทำปฏิกริรยาแปลสภาพของโปรตีนในไข่กลายเป็น  โครงสร้างคล้ายกับยาง ไข่ไก่จึงเด้งดิ๋ง


สรุป บทความเด็กอนุบาลเรียนวิทย์ผ่าน "ดินมหัศจรรย์"

   


สรุป
การบูราณการเรียนรู้โดยนำหลักวิทยาศาสตร์เข้ามาในการเรียนการสอนโดยทางสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริมให้ชั้นเรียนบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา” (STEM Education : Science Technology Engineering and Mathematics Education) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ
 ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
ระยะที่ 3 สรุปโครงการ

ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการโดยมีความคิดเห็นร่วมเกี่ยวกับหัวข้อที่เด็กสนใจ คือ เครื่องปั่นดินเผา ซึ่งเด็กเกิดความอยากรู้ในสิ่งนี้จึงศึกษาหาข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการสอน โดยครูตั้งคำถามไปกับเด็ก เช่น เด็กรู้ไหมว่าเครื่องปั้นดินเผาเกิดมาจากสิ่งใดที่สำคัญ? เครื่องปั้นดินทำมาจากอะไร?
ระยะที่ ครูเปิดวิดีโอเพลงของขวัญจากก้อนดินครูนำดินใส่โหลสีใสมาให้เด็ก ๆ ได้ดูอย่างใกล้ชิดพร้อมร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับดิน และเด็กๆ หาความรู้เพิ่มเติมหลากหลายวิธี ได้แก่  
·       สืบค้นด้วยตนเองโดยใช้แว่นขยายส่องโหลสีใสที่ใส่ดินไว้ข้างใน กิจกรรมกลุ่มให้เด็กวาดรูปสิ่งต่างๆ ที่พบเจอในโหลสีใสให้ชัดเจน
·       ร่วมแบ่งปันภาพวาดนั้นให้กับเพื่อนได้พร้อมนำเสนอในห้องทีละกลุ่ม
·       สอบถามผู้รู้ คือ คุณครูในห้องเรียนถึงสิ่งต่างๆ ที่พบเจอในโหลสีใส โดยการตั้งคำถาม
·       เด็กและครูทบทวนความหมายของดินและการเกิดดินที่ได้เรียนไปเมื่อวานผ่านชาร์ตการเกิดดินร่วมกัน
       ครูเปิดคลิปวิดีโอ เรื่องชนิดและสมบัติของดินจากอินเทอร์เน็ต นำดิน 3 ประเภท (ดินทราย ดินร่วน ดินเหนียว) ใส่กระบะทั้ง 3 กระบะมาให้นักเรียนได้สังเกต สัมผัส ร่วมกันสำรวจและแสดงความคิดเห็น สังเกต เปรียบเทียบความแตกต่างของดินแต่ละกระบะ ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับดิน
ระยะที่ 3 สรุปโครงการวันศุกร์ ครูทบทวนความรู้ของนักเรียนจากที่เคยได้ร่วมกันสำรวจ สืบค้นและเสาะหามาด้วยวิธีการต่างๆ นำชาร์ตคำถามที่นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามในตอนแรก จากนั้นนักเรียนและครูตกลงร่วมกันที่จะจัดนิทรรศการดินมหัศจรรย์ขึ้น ภายในห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/6 โดยแบ่งเป็นมุมการเรียนรู้ต่างๆ



บทความประชาสัมพันธ์โดย สสวท.


 


วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Lesson 16

วัน อังคาร ที่ 22 พฤศจิกายน 2559 กลุ่ม 102
 ห้อง 15-0905 เวลา 13.30-17.30 น.
-------------------------------------------------------------------------
      Konwledge (ความรู้)  
       กิจกรรมเสริมประสบการณ์บูรณาการผ่านวิทยาศาสตร์และ STEM  สัปดาห์นี้ทดลองวิธีการสอนของแต่ละกลุ่มโดยเรียงจากวันจันทร์ จนถึง วันศุกร์ มีกิจกรรมทั้งหมดดังนี้
      วันจันทร์ สอนเรื่อง สายพันธ์ (หน่วยไก่)
      วันอังคาร สอนเรื่อง ลักษณะ (หน่วยนม)
      วันพุธ  สอนเรื่อง การถนอมอาหาร (ข้าว)
      วันพฤหัสบดี  สอนเรื่อง ประโยชน์และข้อควรระวัง / นิทาน เรื่องกล้วยกล้วยของหนูนิด (หน่วยกล้วย)  
      วันศุกร์  สอนเรื่อง  Cooking น้ำอัญชันมะนาว (หน่วยน้ำ)

                               ตัวอย่างการสอนของกลุ่มต่าง  ๆ

                         วันจันทร์ สอนเรื่อง สายพันธ์ (หน่วยไก่)




                   วันอังคาร สอนเรื่อง ลักษณะ (หน่วยนม)
     



                        วันพุธ  สอนเรื่อง การถนอมอาหาร (ข้าว)


                                   
              กลุ่มของข้าพเจ้า วันพฤหัสบดี  สอนเรื่อง ประโยชน์และข้อควรระวัง
                          นิทาน เรื่องกล้วยกล้วยของหนูนิด (หน่วยกล้วย)


     แผนการจัดประสบการณ์ หน่วยกล้วย  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่องกล้วยกล้วยของหนูนิด 
     วัตถุประสงค์
1.       เด็กแสดงออกถึงความสนุกสนานจากการฟังนิทาน
2.       เด็กสามารถบอกประโยชน์ของกล้วยได้
3.       เด็กสามารถบอกข้อควรระวังของกล้วยได้
      สาระที่ควรเรียนรู้
·       ธรรมชาติรอบตัว
·       สิ่งต่างๆ รอบตัว
      ประสบการณ์สำคัญ
·       ด้านอารมณ์จิตใจ
·       ด้านสติปัญญา

     
      กิจกรรมการเรียนรู้
      ขั้นนำ    
              1.เข้าสู้กิจกรรมโยการเล่านิทาน เรื่องกล้วยกล้วยของหนูนิด
      ขั้นสอน
              1.ครูให้เด็กร่วมตอบคำถามจากนิทานว่าเด็กรู้จักประโยชน์ของกล้วยหรือไม่ มีอะไรบ้าง ข้อควรระวังของกล้วยมีอะไรบ้าง
              2. เมื่อเด็กตอบ ครูจะเป็นผู้บันทึกข้อมูลลงในแผ่นชาร์ตที่แยกระหว่างประโยชน์และข้อควรระวัง
              3.จากนั้น ถามสิ่งที่เด็ก ๆ รู้แต่นอกเหนือจากนิทานถ้าเด็กสามารถรู้และตอบได้จดบันทึกลงแผ่นชาร์ต และแยกสีเพื่อให้เป็นหมวดที่เป็นความรู้เพิ่มเติมของเด็ก
     ขั้นสรุป  
              1.เด็กและครูร่วมกันสรุปทบทวนความรู้ว่ากล้วยมีประโยชน์และข้อควรระวังอย่างไร
     สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1.       กระดาษชาร์ต
2.       ปากกาเมจิ สีต่าง ๆ
3.       นิทาน
4.       ที่ว่างสำหรับการเล่านิทาน
     การวัดและประเมินผล
     สังเกตจาก
1.       เด็กแสดงออกอย่างสนุกสนานจากการฟังนิทาน
2.       เด็กบอกประโยชน์ของกล้วยได้อย่างถูกต้อง
3.       เด็กบอกข้อระวังของกล้วยได้อย่างถูกต้อง
     การบูรณาการ
·       ภาษา



                              นิทานเรื่อง กล้วยกล้วยของหนูนิด


     วันศุกร์  สอนเรื่อง  Cooking น้ำอัญชันมะนาว (หน่วยน้ำ)
     







------------------------------------------------------------------------------

vocabulary กลุ่มคำศัพท์
Nature                        ลักษณะ
food preservation       การถนอมอาหาร
Teaching methods      วิธีการสอน
Conclusion                 ข้อสรุป
Tale                          นิทาน

Skill (ทักษะ)
  • การคิดวิเคราะห์
  • การแสดงความคิดเห็น
  • การสังเกต

Application (การประยุกต์ใช้) 
     การนำไปประยุกต์ใช้ แนวทางการสอนที่เป็นการบูรณาการผ่านกิจกรรมเสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์ครั้งนี้ คือ การออกแบบและเสนอแนวทางการสอนที่ใช้หลักการวิทยาศาสตร์มาเชื่อมโยง โดยการขั้นการสอนทุกครั้งซึ่งจะต้องดำเนินการเป็นวิธีการที่มีขั้นตอนเพื่อไม่ก่อให้เกิดความสับสนระหว่างการดำเนินการสอน เช่น การสอนนิทาน วันนี้คุณครูจะมาเล่านิทานให้เด็กๆ ฟัง แต่เอ้เด็กทราบหรือไม่ว่าเป็นนิทานเกี่ยวกับเรื่องอะไร แล้วหยิบนิทานขึ้นมาพร้อมกับให้เด็กสังเกตจากหน้าปก หรือรูปภาพที่ปรากฏให้เด็กได้คิดเชื่อมโยงกับสิ่งที่เกิดขึ้น และเมื่อเด็กตอบได้ กล่าวคำชมเชย ท่าเด็กตอบไม่ได้ เพื่อนและครูร่วมกันตบมือให้กำลังใจเด็กด้วยความยินดี
 Technical Education (เทคนิคการสอน)
 - การเรียนเป็นลำดับขั้นตอน
 - มีข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ
 - เน้นความสำคัญของนักศึกษา

Evaluation (การประเมิน)
Self : ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดี ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนได้ดีและช่วยเหลือที่ตนเองพอจะทำได้อย่างเต็มที่
Friend :เพื่อนมีความตั้งใจและช่วยเหลือกันระหว่างการทำงาน
Teacher :อาจารย์มีความเข้าใจ และมีชี้แนะวิธีการที่นักศึกษาไม่เข้าใจสามารถอธิบายเป็นรูปธรรมและเกิดความเข้าใจดีแก่นักศึกษา